นายกเทศมนตรีตำบลป่าแฝก

นายอดุลย์ เสมอใจ
นายกเทศมนตรีตำบลป่าแฝก



ข่าวประชาสัมพันธ์


บริการข้อมูล





เทศบัญญัติ


งานกิจการสภาเทศบาล









ข้อมูลทั่วไป




ด้านกายภาพ


ประวัติความเป็นมา

ตำบลป่าแฝก ตั้งชื่อมากจาก คำว่า “หญ้าแฝก” ซึ่งเป็นไม้ประเภทเดียวกับหญ้าทั่วไป เป็นพืชที่มีอายุนานหลายปีขึ้นเป็นกอแน่น มีระบบรากลึกช่วยกรองตะกอนดิน และรักษาหน้าดินได้ดี สมัยก่อนตำบลป่าแฝกมีหญ้าแฝก เกิดขึ้นทั่วไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นตำบลนี้จึงได้ชื่อว่าตำบลป่าแฝก ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก เมื่อวันที่ 19 เดือนธันวาคม พ.ศ.2539 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลป่าแฝก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นเทศบาลตำบลป่าแฝก เมื่อวันที่ 27 เดือนตุลาคม พ.ศ.2552


ที่ตั้ง

เทศบาลตำบลป่าแฝก ตั้งอยู่เลขที่ 160 หมู่ที่ 2 บ้านป่าแฝกกลาง ตำบลป่าแฝก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอแม่ใจและจังหวัดพะเยา ห่างจากตัวอำเภอแม่ใจ ประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดพะเยา ประมาณ 35 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 สายนครสวรรค์ – เชียงราย มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  1. ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
  2. ทิศใต้ ติดกับ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  3. ทิศตะวันออก ติดกับ อุทยานแห่งชาติแม่ปืม ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ
  4. ทิศตะวันตก ติดกับ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

เนื้อที่

เทศบาลตำบลป่าแฝก มีเนื้อที่ทั้งหมด 40.466 กิโลเมตร หรือ ประมาณ 25,291.25 ไร่ แยกได้ดังนี้ (1ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 625 ไร่)

แยกตามสภาพการใช้ประโยชน์

  1. ที่อยู่อาศัย จำนวน 2,583 ไร่
  2. พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 17,383 ไร่
    1. ทำนา จำนวน 15,233 ไร่
    2. ทำไร่ จำนวน 715 ไร่
    3. ทำสวน จำนวน 1,435 ไร่
  3. พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง จำนวน 5,325.25 ไร่

ภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ตำบลป่าแฝกเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีเทือกเขาขนาบทั้งสองด้าน ภูเขาด้านตะวันออก ได้แก่ ดอยจองเลื่อน ดอยต้วน ดอยห้วยม่วง ด้านทิศตะวันตก ได้แก่ ดอยหลวง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของ ลำห้วยแม่เย็น ลำห้วยป่าแฝก แหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำอิงและไหลลงสู่กว๊านพะเยา


ลักษณะภูมิอากาศ

ตำบลป่าแฝกมีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน

เริ่มต้นแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ของทุกปี อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ประมาณ 40 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน

เริ่มต้นแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม ของทุกปี ฝนตกซุกหนาแน่นในเดือนมิถุนายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 968.4 มิลลิเมตรต่อปี

ฤดูหนาว

เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี อากาศหนาวจัดในเดือนธันวาคม อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส


ด้านการเมือง/การปกครอง


ตำบลป่าแฝก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,099 ครัวเรือน เขตการเลือกตั้ง มีจำนวน 2 เขต

เขตการเลือกตั้งที่ 1

ประกอบด้วย หมู่ที่ 2 3 5 9 และ 11

เขตการเลือกตั้งที่ 2

ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 4 6 7 8 และ 10


ประชากร

มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,099 ครัวเรือน
มีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,055 คน

ชาย 2,441 คน

หญิง 2,614 คน

แยกเป็นหมู่บ้านได้ดังนี้ คือ

ชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ หมายเหตุ
แม่เย็นใต้ 1
ป่าแฝกเหนือ 2
ป่าแฝกดอย 3
ป่าแฝกใต้ 4
หนองสระ 5
ใหม่สันคือ 6
แม่เย็นนอก 7
ป่าแฝกกลางเหนือ 8
สระวังทอง 9
ป่าแฝกสามัคคี 10

สภาพทางสังคม

ด้านการศึกษา

ข้อมูลด้านโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ประเภทศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1. เทศบาลตำบลป่าแฝก

ประเภทโรงเรียน

1. โรงเรียนชุมชนบ้านป่าแฝกสามัคคี

2. โรงเรียนบ้านป่าแฝกเหนือ

3. โรงเรียนบ้านป่าแฝกใต้

4. โรงเรียนบ้านหนองสระ

ด้านสถาบันและองค์กรทางศาสนา

มีวัด ในพื้นที่ จำนวน 5 แห่ง ดังนี้

1. วัดแม่เย็นใต้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่เย็นใต้

2. วัดหนองสระ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 บ้านหนองสระ

3. วัดป่าแฝกเหนือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านป่าแฝกดอย

4. วัดป่าแฝกกลาง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 9 บ้านป่าแฝกกลางเหนือ

5. วัดป่าแฝกใต้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 บ้านป่าแฝกใต้

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

ประเพณีและงานประจำปี มีประเพณีประจำปี คือ

ประเพณีลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เดือนพฤศจิกายน

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุดวงสุพรรณ หมู่ที่ 4 เดือนมีนาคม

ประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูปปางประทานพร หมู่ที่ 9 เดือนเมษายน

ประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูป (พระเจ้าแสนแซ่) หมู่ที่ 5 เดือนกุมภาพันธ์

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุศรีษะลังกาวงค์ หมู่ที่ 6 เดือนเมษายน

ประเพณีทำบุญสืบซะตาหลวง วัดแม่เย็นใต้ หมู่ที่ 1 เดือนมิถุนายน

ประเพณีทำบุญสืบซะตาหลวง วัดป่าแฝกเหนือ หมู่ที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์

ประเพณีสงน้ำพระธาตุตงตุ้มลุ้ม เดือนกุมภาพันธ์


ภูมิปัญญาท้องถิ่น

มีการรวมกลุ่มในการสร้างงานและอาชีพเสริม โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีทรัพยากรในพื้นที่ ที่เอื้อต่อการผลิต เช่น การทำปลาร้า ปลาจ่อม การถนอมอาหาร การจักสานด้วยไม้ไผ่ เช่นตะกร้า เข่ง ไหข้าว ไซดักปลา สุ่มไก่ และทำไม้กวาดทางมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากถักโคเซ ฯลฯ

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

มีสินค้าพื้นเมือง คือ เครื่องจักสานไม้ไผ่ เช่น ตะกร้า ไหข้าว กระด้ง ไซดักปลา สุ่มไก่ ไม้กวาดทางมะพร้าว

ด้านการสาธารณสุข
สถานที่ให้บริการสาธารณสุข ประกอบด้วย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าแฝก

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสระ

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 11 แห่ง

ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง (หมู่ที่ 3 และ 9)

บุคลากรด้านสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 2 คน

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จำนวน 5 คน

เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน จำนวน 1 คน

อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) จำนวน 183 คน

เจ้าหน้าที่ อื่นๆ จำนวน 5 คน

หอกระจายข่าวหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 ของครัวเรือนทั้งหมดมีและใช้ส้วมราดน้ำ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

หน่วยบริการประชาชน (ตู้ยามตำรวจ) จำนวน 1 แห่ง


ระบบการบริการพื้นฐาน

การคมนาคม

สภาพทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อกับอำเภอและตำบลอื่นๆ ลาดยางแล้วทั้งหมด มีถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 นครสวรรค์- เชียงราย ผ่านกลางระหว่างตำบลตลอดแนวและใช้เป็นเส้นทางเข้าสู่อำเภอ และจังหวัด ส่วนถนนภายในหมู่บ้านยังมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงให้ได้มาตรฐานต่อไป

มีถนนลาดยางเชื่อมอำเภอ จำนวน 1 สาย

มีถนนลาดยางเชื่อมตำบล จำนวน 1 สาย

มีถนน คสล./ คสม.ภายในหมู่บ้าน จำนวน 75 สาย

มีสะพาน คสล. จำนวน 5 สาย

มีถนนลูกรังในตำบล จำนวน 41 สาย

มีท่อเหลี่ยม คสล. จำนวน 20 จุด


การโทรคมนาคม

เสาสัญญาณโทรศัพท์ (DTAC) จำนวน 1 แห่ง (หมู่ที่ 6 )

ตู้ไปรษณีย์ จำนวน 2 แห่ง (หมู่ 3,10)

การไฟฟ้า

ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลป่าแฝกมีไฟฟ้าใช้จำนวน 11 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 99 ของครัวเรือนทั้งหมดมีไฟฟ้าใช้ แต่ยังขาดเป็นบางครัวเรือน

แหล่งน้ำ

แห่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่

ลำห้วย จำนวน 6 สาย (1.ห้วยป่าแฝก 2.ห้วยแม่เย็น 3.ห้วยแม่กระทบ 4. ห้วยหลวง 5.ห้วยซี่ลี่ 6.ห้วยโทกช้างน้อย)

หนองน้ำ , สระ จำนวน 3 แห่ง

แห่งน้ำที่สร้างขึ้น

มีอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง(อ่างเก็บน้ำแม่เย็น, อ่างเก็บน้ำป่าแฝก)

ฝายน้ำล้น จำนวน 14 แห่ง

บ่อน้ำตื้น จำนวน 1,520 แห่ง (11 หมู่บ้าน)

บ่อบาดาล จำนวน 6 แห่ง

ประปาภูเขา (หมู่บ้าน) จำนวน 1 แห่ง (หมู่ 7 )

ประปาบาดาล จำนวน 6 แห่ง (หมู่ 2, 4 ,5, 6, 8 และ 11)

ประปาผิวดิน จำนวน 4 แห่ง (หมู่ 1, 5, 6, 10 )

ประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 4 แห่ง (หมู่ 2, 3, 9, 11)

ถังเก็บน้ำฝน ฝ.33, ฝ.99 จำนวน 3 แห่ง


ระบบเศรษฐกิจ

การประกอบอาชีพของประชาชน

ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ทำนา ทำสวน ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำประหลัง และผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ลิ้นจี่ ลำไย แตงโม สำหรับอาชีพอื่นๆ ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และรับราชการ

หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลป่าแฝก
ประเภทธุรกิจ จำนวน (แห่ง) หมายเหตุ
ร้านขายของชำ 33
ร้านขายอาหาร / ก๋วยเตี๋ยว 5
โรงสีข้าว 10
อู่เคาะพ่นสีรถ 2
ปั้มน้ำมัน / น้ำมันหลอด 2
ตลาดสด 2
ร้านซ่อมรถ 5
โรงงาน 2

เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

แหล่งน้ำ

แห่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่

ลำห้วย จำนวน 7 สาย (1.ห้วยป่าแฝก 2.ห้วยแม่เย็น 3.ห้วยแม่กระทบ 4. ห้วยหลวง 5.ห้วยซี่ลี่ 6.ห้วยโทกช้างน้อย 7.ห้วยโทกช้างน้อย)

หนองน้ำ , สระ จำนวน 3 แห่ง

แห่งน้ำที่สร้างขึ้น

มีอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง(อ่างเก็บน้ำแม่เย็น, อ่างเก็บน้ำป่าแฝก)

ฝายน้ำล้น จำนวน 14 แห่ง

บ่อน้ำตื้น จำนวน 1,520 แห่ง (11 หมู่บ้าน)

บ่อบาดาล จำนวน 6 แห่ง

ประปาบาดาล จำนวน 6 แห่ง (หมู่ 2, 4 ,5, 6, 8 และ 11)

ประปาผิวดิน จำนวน 4 แห่ง (หมู่ 1, 5, 6, 10 )

ประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 4 แห่ง (หมู่ 2, 3, 9, 11)

ถังเก็บน้ำฝน ฝ.33, ฝ.99 จำนวน 3 แห่ง


ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

1. ทรัพยากรป่าไม้ : เทศบาลตำบลป่าแฝกมีหมู่บ้านที่อยู่ติดกับป่าสงวนแห่งชาติดอยหลวง จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 7

2. ติดกับป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่พุง – แม่ปืม จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6และหมู่ที่ 10


ข้อมูลอื่นๆ

มวลชนจัดตั้ง

ลูกเสือชาวบ้าน (ล.ส.ช.บ.) จำนวน 3 รุ่น 684 คน

อาสาสมัครป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (อส. ปปส.) จำนวน 1 รุ่น 165 คน

อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) จำนวน 1 รุ่น 100 คน

ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น

การรวมกลุ่มของประชาชน

กลุ่มเกษตรกร จำนวน 6 กลุ่ม

กลุ่มอาชีพ จำนวน 20 กลุ่ม

กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 10 กลุ่ม

จุดเด่นที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล คือ

พื้นที่ตำบลป่าแฝก มีการคมนาคมขนส่งทางบก ที่สะดวก รวดเร็ว มีถนนพหลโยธิน ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 นครสวรรค์ – เชียงราย ผ่านกลางระหว่างตำบลตลอดแนว มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีโบราณสถานคือพระธาตุจอมรุ่ง และอ่างเก็บน้ำแม่เย็น ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรมได้เพราะว่าสถานบันที่ดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณที่ใกล้เคียงกัน และอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงรายและของภาคเหนือ คือน้ำตกปูแกง ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ห่างจากตำบลป่าแฝก ประมาณ 10 กิโลเมตร

ประชากรในพื้นที่ตำบลป่าแฝก ยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด จึงบ่งบอกถึงความรักความสามัคคีและสามารถรวมพลังได้เป็นอย่างดี



การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร





ระบบข้อมูลข่าวสาร


























จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด 277147 ครั้ง
จำนวนผู้เข้าชมวันนี้ 5 ครั้ง
จำนวนผู้เข้าชมเดือนนี้ 5280 ครั้ง